Facebook
  • LINE iconLine
  • กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 

    กยศ. คืออะไร? และกยศ. เกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร? บทความนี้เราจะมาทุกคนมารู้จักกับ กยศ. กันให้มากขึ้น ซึ่งคำว่า กยศ. ย่อมาจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา” เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นในปี 2538 โดยเป็นกองทุนในลักษณะหมุนเวียน ต่อมารัฐบาลได้เห็นความสำคัญของกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษามากขึ้น จึงมีประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้เป็นกองทุนเงินกู้เพื่อการศึกษาในฐานะนิติบุคคล และอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง โดยมีวัตถุประสงค์ให้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นกองทุนเงินกู้เพื่อการศึกษาสำหรับนักเรียนหรือนักศึกษาที่คลาดแคลนทุนทรัพย์ และกู้เงินเรียนสำหรับเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายในการศึกษา และสำหรับเป็นค่าครองชีพระหว่างการศึกษาของผู้กู้เงินเรียน โดยวงเงิน กยศ. จะขึ้นอยู่กับระดับชั้นการศึกษาของผู้กู้ และนักเรียนหรือนักศึกษาจะได้วงเงิน กยศ. แตกต่างกันตามสถานะของผู้กู้ 

    ข้อดีข้อเสียของการกู้เงินเรียนกับกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา 

    ส่วนใหญ่แล้วคนที่จะกู้เงินเรียนจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา จะเป็นนักศึกษาที่กำลังจะเรียนต่อปริญญาตรีมากกว่านักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมปลายหรือระดับ ปวช. และปวส. นั่นก็เพราะว่าการเรียนต่อปริญญาตรีนั้นมีค่าใช้จ่าย และมีค่าครองชีพที่สูงกว่านั่นเอง อีกทั้งนักศึกษาที่คลาดแคลนทุนทรัพย์ก็กู้เงินเรียนจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาเพื่อจะสามารถศึกษาต่อได้ แบ่งเบาภาระจากทางบ้าน และมีค่าครองชีพไว้ใช้ในระหว่างการศึกษา และข้อดีของกู้เงินเรียนจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาอีกอย่างหนึ่งก็คือ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นเงินกู้เพื่อการศึกษาดอกเบี้ยต่ำ มีระยะเวลาการผ่อนชำระนานถึง 15 ปี และปลอดภาระหนี้ใน 2 ปีแรก แต่ถึงแม้ว่ากองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาจะมีข้อดีหลายอย่าง แต่การเป็นหนี้และการใช้หนี้ กยศ. หลังเรียนจบก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ายินดีเท่าไหร่นัก หลายคนที่กู้เงินเรียนมาแล้วกลับมาเสียใจทีหลังก็มี แต่ไม่ว่าจะเป็นยังไงกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาก็เป็นเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ช่วยให้นักเรียนและนักศึกษาเข้าถึงการศึกษาได้ แม้จะคลาดแคลนทุนทรัพย์ก็ตาม 

    การปรับโครงสร้างหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา และการใช้หนี้ กยศ. 2567 

    ในช่วงโควิดที่ผ่านมา หลายคนตกงาน และไม่มีเงิน แต่ก็ยังไม่เท่ากับคนที่เป็นหนี้และยังตกงาน ซึ่งทางกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาก็ได้เข้าใจปัญหานี้ดี โดยเฉพาะคนที่กู้เงินเรียนและต้องใช้หนี้หลังจากเรียนจบ ทางกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาจึงมีการปรับโครงสร้างหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา และการใช้หนี้ กยศ. ใหม่ เพื่อช่วยให้นักเรียนและนักศึกษาที่กู้เงินเรียนมาแล้ว สามารถชำระหนี้ได้โดยที่ไม่เป็นภาระมากจนเกินไป ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา และการใช้หนี้ กยศ. จะช่วยให้ลูกหนี้มีระยะเวลาการผ่อนชำระนานขึ้นจาก 15 ปี เป็น 30 ปี โดยกลุ่มเป้าหมายที่สามารถปรับโครงสร้างหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้จะต้องเป็นผู้กู้ยืมที่ไม่ถูกฟ้องดำเนินคดี และให้ทำการลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ทางเว็บไซต์ของกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป